วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 5 : เรื่องราวที่นักเรียนน่าสนใจ [Heckler & Koch MP5]


MP5 เป็นปืนที่มีน้ำหนักเบาไม่มากจนเกินไป ไม่หนักจนเกินไป มีความคล่องตัวสูง ผลิตมาจากบริษัท H&K ที่มีชื่อเสียงของโลก สัญชาติเยอรมัน MP5 คือปืนกลเบาที่มีชื่อเสียงเเละดังกระฉ่อนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของบรรดาปืนต่างๆที่ H&K ผลิตสร้างขึ้นมาเลยล่ะ ได้รับความนิยมไปยังหลายหน่วยงาน เช่น นาวิก , SEAL , NATO , SAS , SWAT เเละก็ยังถูกเข้าประจำการในกองทัพสหรัฐอีกด้วย เป็นปืนกลที่มีประสิทธิภาพมาก มีความเเม่นยำเป็นเลิศ ระบบการยิง เเละระบบเซฟความปลอดภัยดีเจาะกลุ่มลูกค้าเป็นหลักดี ความทนทานดีไม่เป็นรองใคร เเรงสะท้อนเบาใช้ได้ คุมปืนง่าย เเม้เเต่ในเมืองไทยยังสั่งปืนนี้มาเข้าประจำการมาในเมืองไทยเหมือนกัน ปืน MP5 นั้นจะมีฟังก์ชั่นเยอะ เเล้วปืน MP5 เกือบทุกรุ่น จะมีเเม็กกาซีนพิเศษให้ใช้ด้วย เช่น BETA C-MAG เป็นเเม็กกาซีนบรรจุ 100 นัดคล้ายๆ เเม็กกาซีนของปืน MG36 ที่พัฒนามาจาก G36 เเตก็ไม่ค่อยนิยมใช้เท่าไรเพราะเเม็กกาซีนชนิดนี้จะหนักมากไปหน่อยน่ะ ส่วนเเบบ DRUM MAG จะเบากว่าเเบบ BETA C-MAG บรรจุ 70 -100 ได้ เเต่ก็ยังไม่นิยมเท่าเเบบเเม็กกาซีน 30 นัด เพราะมันคล่องตัวกว่า ซึ่งดีกว่า เเถมยังติดตั้งเเม็กกาซีนเป็นคลิปติดกัน 3 เเม็ก รวมกันเปน 90 นัด เเล้วเเปะกาวหนังไก้รอบเเม็กกาซีนด้ามปืน ซึ่งจะเปลี่ยนกระสุนเเละเเม็กกาซีนได้เรวกว่า เบากว่า คล่องตัวกว่าด้วย ไม่ใช่มีเเต่ MP5 อย่างเดียวที่ทำได้ปืนตระกูล M4A1 M16 ก็ทำได้ด้วย เช่นกัน
-น้ำหนัก : -2.54 กก.(5.6 ปอนด์)(MP5A2)
                -2.88 กก.(6.35 ปอนด์)(MP5A3)
-ยาว : พานท้ายติดตายตัว -680 มม.(26.8 นิ้ว)
          พานท้ายแบบยืดหดได้ -490 มม.(19.3นิ้ว)หด
                                              -660 มม.(26 นิ้ว)กาง
-ลำกล้องยาว : 225 มม. (8.85 นิ้ว)
-กระสุน : 9 X 19 มม. ลูเกอร์
-การทำงาน : ใช้ลูกกลิ้งหน่วงเวลา โบลว์แบ็ค หน้าลูกเลื่่อนปิด
-อัตราเร็วในการยิง : 800 นัด/นาที
-ความเร็วต้นปากลำกล้อง : 270 เมตร/วินาที (886 ฟุต/วินาที)
-ระยะหวังผลไกลสุด : 200 เมตร (219 หลา)
-ซองกระสุน : 15 หรือ 30 นัด
-ศูนย์เล็ง : หลัง : แบบหมุนปรับระยะยิง
                 หน้า : แบบแท่น มีครอบเคลือบสารตริเตรียม
ที่มา:http://www.thaiairsoftgun.com/board/index.php?topic=36873.0
        http://atcloud.com/stories/51874


วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 4 : โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language) คือภาษาที่ใช้ หรือเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักใช้ร่วมกับภาษาโปรแกรม 
แต่ภาษาคอมพิวเตอร์นั้นมีความหมายที่กว้างกว่า โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นภาษาโปรแกรม ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าภาษาอย่าง HTML หรือ SQL ไม่ใช่ภาษาโปรแกรม แต่ถือว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม (Program Language) คือ วิธีการมาตรฐานในการสื่อสารสำหรับแสดงคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมกำหนดไวยากรณ์และการตีความหมายจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้น ภาษาโปรแกรมทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถระบุอย่างชัดเจนถึงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์จะทำงาน และวิธีการที่คอมพิวเตอร์จะประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น ภาษาคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาหรือมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ โดยจะสามารถแบ่งออกเป็นยุคหรือเป็นรุ่นของภาษา (Generation) ซึ่งในยุคหลังๆ จะมีการพัฒนาภาษาให้มีความสะดวกในการอ่านและเขียนง่ายขึ้นกว่าภาษาในยุคแรกๆ เนื่องจากจะมีโครงสร้างภาษาใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ เราสามารถแบ่งภาษาคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุคดังนี้
1. ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาที่เกิดขึ้นในยุคแรกสุด และเป็นภาษาเดียวที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถเข้าใจคำสั่งได้ ภาษาเครื่องจะแทนข้อมูลหรือคำสั่งในโปรแกรมด้วยกลุ่มของตัวเลข 0 และ 1 หรือที่เรียกว่าเลขฐานสอง ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเปิด (On) และการปิด (Off) ของสัญญาณไฟฟ้าภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

 2. ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language) เป็นภาษาที่มีการใช้สัญลักษณ์ข้อความ (Mnemonic codes) แทนกลุ่มของเลขฐานสอง เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนและการจดจำมากกว่าภาษาเครื่อง แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์รู้จักเฉพาะภาษาเครื่องเท่านั้น ดังนั้นภาษาแอสแซมบลี จึงต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่า แอสแซมเบลอร์ (Assembler)” เพื่อแปลคำสั่งภาษาแอสแซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง 

3. ภาษาชั้นสูง (High-level Language) เรียกอีกอย่างว่าภาษารุ่นที่ 3 (3rd Generation Languages หรือ 3GLs) เป็นภาษาที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนและอ่านโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีลักษณะเหมือนภาษาอังกฤษทั่วๆ ไป และที่สำคัญคือ ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบฮาร์ดแวร์ ตัวอย่างของภาษาประเภทนี้ ได้แก่ ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) เบสิก (BASIC) ปาสคาล (PASCAL) ซี (C) เอดา (ADA) เป็นต้น 

4. ภาษาชั้นสูงมาก (Very high-level Language) เรียกได้อีกอย่างว่าภาษาในรุ่นที่ 4 (4GLs: Fourth Generation Languages) ภาษานี้เป็นภาษาที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าภาษารุ่นที่ 3 มีลักษณะของภาษาในรุ่นที่เป็นธรรมชาติคล้ายๆ กับภาษาพูดของมนุษย์จะช่วย ในเรื่องของการสร้างแบบฟอร์มบนหน้าจอเพื่อจัดการเกี่ยวกับข้อมูล รวมไปถึงการออกรายงาน ซึ่งจะมีการจัดการที่ง่ายมากไม่ยุ่งยากเหมือนภาษารุ่นที่ 3 ตัวอย่างของภาษาในรุ่นที่ 4 ได้แก่ Informix-4GL, Focus, Sybase, InGres เป็นต้น


5. ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) เป็นภาษาในยุคที่ 5 ที่มีรูปแบบเป็นแบบ Nonprocedural เช่นเดียวกับภาษารุ่นที่ 4 ภาษา ธรรมชาตินี้ ถูกสร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยีทางด้านระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) ซึ่งเป็นงานที่อยู่ในสาขาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในการที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนกับเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง ที่สามารถคิดและตัดสินใจได้เช่นเดียวกับมนุษย์ การที่เรียกว่าภาษาธรรมชาติ เพราะมนุษย์สามารถใช้ภาษาพูดป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง 
ที่มา:https://kroobee.wordpress.com/2010/09/16/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 3 : Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย


ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)
          ราชบัณฑิตยสถาน (2554) ได้บัญญัติคำว่า “Social Media” ไว้ว่า “สื่อสังคม” หมายถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้าง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ สื่อเหล่านี้เป็นของบริษัทต่าง ๆ ให้บริการผ่านเว็บไซต์ของตน
       สื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media หมายถึง สื่อดิจิตอล หรือซอร์ฟแวร์ที่ทำงานอยู่บนพื้นฐานของระบบเว็บ หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต ที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม ที่มีผู้สื่อสารจัดทำขึ้น โดยที่ผู้เขียนจัดทำขึ้นเอง หรือพบเจอสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราว เหตุการณ์ บทความ ประสบการณ์ รูปภาพ วิดีโอ และเพลง แล้วนำมาแบ่งปันเนื้อหา ข้อมูล ข่าวสาร ประสบการณ์ และพูดคุยให้ผู้ใช้ในโลกออนไลน์ ในเครือข่ายของตนได้รับรู้ ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไว เสียง กับคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้ประโยชน์ร่วมกัน (Elizabeth, 2012; Jan 2011, อรวรรณ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง2553)



คุณประโยชน์ของการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการศึกษา
(
Benefit of using Social Media in Education)
          สื่อสังคม หรือสื่อโซเชียลมีเดีย เป็นสื่อใหม่ที่กำลังมีบทบาท และมีอิทธิพลค่อนข้างสูงในสังคมปัจจุบัน ซึ่งในส่วนของวงการศึกษา และการจัดการเรียนรู้ ได้มีการนำเอาสื่อเหล่านี้มาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เนื่องจากสังคมจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์หลายประการ ดังที่มีผู้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ เช่น กลุ่ม The Social Media Advisory Group แห่งVictoria University ประเทศออสเตรเลีย กล่าวถึงประโยชน์ของโซเชียลมีเดียต่อการเรียนรู้ ไว้ว่า
1.เป็นการสร้างศักยภาพของการสื่อสาร/สื่อความหมาย สนองต่อความต้องการของการสื่อความหมายในการเรียนการสอนของผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนได้รู้ถึงรูปแบบ และระดับในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเรียนรู้ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ โดยใช้กระบวนการสื่อสารจากสื่อโซเชียลมีเดียเป็นตัวเชื่อมโยงประสบการณ์ดังกล่าว
2. เป็นสื่อที่เหมาะสมต่อการใช้ สื่อประเภทนี้เป็นสื่อที่ปรับใช้ให้เหมาะสมตามสภาพแวดล้อม ดังนั้น ประสิทธิภาพ และความสำเร็จจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยที่หลากหลาย ทั้งด้านสถานะทางสังคม และทัศนคติ การยอมรับ ดังนั้น จึงเป็นสื่อที่มีความเหมาะสมต่อการเสริมสร้างโอกาส และความรับผิดชอบของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
3.เป็นสื่อที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสริมประสบการณ์ระหว่างกลุ่มด้วยกัน ซึ่งสื่อโซเชียบมีเดียจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์สำคัญที่ผู้เรียนสามารถเลือก หรือสร้างช่องทางการเรียนรู้จากสื่อสังคมดังกล่าวที่กระทำได้ในหลากหลายกิจกรรมในการสื่อสาร
4.เป็นสื่อช่วยเสริมสร้างทักษะความรู้ได้อย่างมีวิจารณญาณ สื่อจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสร้างทักษะองค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างทักษะการคิด วิเคราะห์ และทักษะในการใช้สื่อประเภทดิจิตอลได้อย่างมีประสิทธิผล


ผลกระทบต่อการศึกษาไทย

          แม้การใช้โซเชียลมีเดียจะมีประโยชน์อย่างมากในบทบาทของเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน แต่หากผู้สอนไม่มีการจัดการที่ดีอาจส่งผลกระทบทางลบต่อนักเรียนได้ เพราะนักเรียนอาจยังไม่สามารถควบคุม หรือกำกับตนเองให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งข้อดี และข้อเสียของการใช้โซเชียลมีเดียในการเรียนการสอน สรุปได้ดังนี้ (กานดา รุณพงศา สายแก้ว, 2554)

 ข้อดี หากมีการใช้งานในทางที่ถูกต้อง จะส่งผลดี ซึ่ง Poore(2013) ได้ยกตัวอย่างไว้ เช่น
1.  เป็นการส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาให้แก่ผู้เรียน
2.เป็นการฝึกทักษะสื่อสาร การมีส่วนร่วม รวมทั้ง ทำให้เกิดการเรียนรู้ทางสังคม
3.   เป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจ
4.ปรับสภาพแวดล้อมการเรียนแบบเปิด ง่ายต่อการเชื่อมโยง สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสังคมในชั้นเรียน
5.สนับสนุน และรองรับการสื่อสาร 2 ทาง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก หรือการร่วมกันสร้างองค์ความรู้
ข้อเสีย ผลกระทบที่เป็นอุปสรรค์ และปัญหาจากการใช้โซเชียลมีเดียในการเรียนการสอน สามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้ (จุฑามาศ สนกนก, 2555)
1.ความไม่มั่นใจในความเสถียร และความคงอยู่ของเว็บ เพราะส่วนใหญ่โซเชียลมีเดีย เป็นเว็บที่เปิดให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ในบางกรณีที่เว็บไซต์ปิดตัวลงโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีค่าใช้จ่ายสำหรับการทำงานเกิดขึ้น
2.การเชื่อมโยงระหว่างระบบ และข้อมูลผู้ใช้เพื่อการทำงานร่วมกันในสถานศึกษา หากไม่มีการควบคุม ผู้ใช้ที่อาจขาดความระมัดระวังในการใช้งาน เช่น การโพสข้อความหมิ่นประมาทก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเอง และองค์กรได้
3. ความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล หากไม่มีการป้องกันที่ดี อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีนำไปใช้ในทางที่ผิดได้
4.อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีราคาสูง หากองค์กรนั้นไม่มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ จะทำให้ใช้อุปกรณ์นั้น ๆ ได้ไม่คุ้มค่า เช่น ระบบอินเตอร์เน็ตหรือห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน หากไม่มีงบประมาณในการปรบปรุงจะทำให้เกิดความล้าสมัย หรือผู้ปกครองบ้างท่านที่ไม่สามารถสนับสนุนบุตรหลาน ในการซื้อคอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตเป็นของตนเอง
5.ขาดการคัดกรองในการสืบค้นข้อมูล และการรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดการขาดวิจารณญาณในการำเสนอข้อมูล รวมทั้งทำให้เนื้อหาที่นำเสนอผิดพลาดได้
ที่มา:http://edutech14.blogspot.com/2014/05/social-network-social-media.html




วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 2 : เรื่องราวที่นักเรียนน่าสนใจ [หน่วยปฏิบัติการพิเศษ (SWAT: Special Weapons and Tactics)]

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ (SWAT: Special Weapons and Tactics) ถ้าจะแปลตรงตัวน่าจะแปลว่า “หน่วยอาวุธและกลยุทธ์พิเศษ” ในช่วงที่ผ่านมาเรามักจะพูดกันถึงพลซุ่มยิง (Sniper) แต่พลซุ่มยิงในทางทหารกับตำรวจจะทำงานต่างกัน ชุดซุ่มยิงของทหารมักจะทำงานเป็นชุดยิงที่ประกอบด้วยกำลังพล 2 นายคือ พลยิง และผู้สังเกตการณ์ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มกันด้วย เป้าหมายที่ชุดซุ่มยิงจะกำจัดมักเป็นเป้าหมายที่มีผลต่อยุทธศาสตร์ หรือยุทธวิธีในการปฏิบัติในพื้นที่นั้นๆ หรือแผนการปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่อง 

สำหรับพลซุ่มยิงในทางตำรวจจะทำงานเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ หรือในบางหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯเรียกหน่วยนี้ในอีกชื่อหนึ่งว่า หน่วยปฏิบัติการตอบโต้พิเศษ (SRT: Special Response Team) 

หน่วยปฏิบัติการพิเศษที่ผมจะเล่าให้ฟังจะเป็นในส่วนของตำรวจหรือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ส่วนหน่วยปฏิบัติการพิเศษในทางการทหารขออุบไว้เล่าในอนาคตครับ

หน่วยปฏิบัติการพิเศษของตำรวจหน่วยแรกในโลกคือ หน่วยปฏิบัติการพิเศษของตำรวจหน่วยแรกในโลกคือ หน่วย S.W.A.T. (Special Weapons And Tactics Team) ถูกริเริ่มขึ้นในปลายทศวรรษที่ 60 และได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการในปี 1972 (แต่ WIKI ว่า 1968 ผู้เล่า) โดยกรมตำรวจแห่งนครลอสแอนเจลิส (LAPD) ด้วยการเห็นคุณค่าของความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากการมีคณะที่ได้รับ การฝึกฝนและทำงานประจำด้วยกันในหน่วยงานของเมืองใหญ่ ซึ่งนับเป็นความคิดริเริ่มในเวลานั้น หน่วยงานนำมาซึ่งการรวบรวมวิธีการปราบปรามสถานการณ์รูปแบบต่างๆของตำรวจ จากนั้นมันก็กลายเป็นตำนานขึ้นมาในหมู่หน่วยงานปราบปรามต่างๆทั่วโลก ในขณะนี้ หน่วย S.W.A.T. เป็นหน่วยงานชั้นนำที่ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจของลอสแอนเจลิสอย่างน้อย 60 นาย นายสิบตำรวจ 6 นาย และร้อยโทอีก 1 นาย ซึ่งทั้งหมดล้วนถูกฝึกจนมีความชำนาญและเต็มไปด้วยกลยุทธ์ในการจู่โจม หน่วยงานครอบคลุม 16 พื้นที่โดยแบ่งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ของลอสแอนเจลิส เมืองที่มีเนื้อที่ทั้งหมดเกือบ 500 ตารางไมล์ เป็นทีมแรกๆที่อาศัยยุทธิวิธีในการปฏิบัติงานสำหรับการใช้กฎหมายของเมือง
หลังจากเหตุการณ์การปราบปรามอย่างลับๆหลายครั้งต่อต้านพวกพลเรือนและเจ้า หน้าที่ตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในลอสแอนเจลิสช่วงระหว่างและหลังจากการก่อจลาจล Watts Riots ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 ทำให้เกิดข้อเท็จจริงที่ว่าการตอบโต้ต่อสถานการณ์เช่นนั้นไม่เพียงพอ ดังนั้น หน่วยอาสาสมัครหลายหน่วยที่มีชื่อว่า station defense team อันประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ผู้มีความชำนาญงานและมีประสบการณ์ทางทหาร จึงถูกสร้างขึ้น 
อย่างไรก็ตาม หน่วย S.W.A.T. นั้น ยังคงได้รับเงินช่วยเหลือเพียงน้อยนิด จนกระทั่งในปี 1984 ที่คณะกรรมการโอลิมปิกเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพราะการแข่งโอลิมปิกเกมส์ในลอสแอนเจลิสนั้นถูกมองว่าน่าจะเป็นเป้าหมายของ ผู้ก่อการร้าย หน่วย S.W.A.T. จึงได้รับเงินช่วยเหลือสำหรับอุปกรณ์เพิ่มเติมและการฝึกที่จำเป็นสำหรับการ ป้องกันการก่อการร้าย งานโอลิมปิกที่ลอสแอนเจลิสลุล่วงลงโดยไม่เกิดเหตุการณ์ใดๆขึ้น แต่เงินช่วยเหลือและการฝึกที่เริ่มต้นขึ้นจากงานนั้นกลายเป็นจุดเปลี่ยน สำคัญของหน่วยตำรวจลอสแอนเจลิสและ S.W.A.T. หลังจากความสำเร็จของหน่วย S.W.A.T. ของกรมตำรวจลอสแอนเจลิส เมืองอื่นๆทั่วสหรัฐอเมริกาและส่วนต่างๆของโลกก็ได้จัดตั้งหน่วยงานที่มี ลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งแม้ว่าไม่ทั้งหมดจะถูกเรียกว่า S.W.A.T. และไม่ทั้งหมดที่อยู่ใต้การอุปถัมภ์ของกรมตำรวจของเมืองนั้นๆ (บางหน่วยอยู่ใต้สมาพันธรัฐหรือหน่วยงานติดอาวุธที่เป็นอำนาจของศาล) แต่ทั้งหมดก็มีจุดประสงค์เดียวกันคือเรื่องการใช้ยุทธวิธีอันชาญฉลาดเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ 
ในฐานะที่เป็นหน่วยงานชั้นนำ สมาชิกของหน่วย S.W.A.T. ต้องถูกคัดเลือกอย่างเข้มงวดมากทั้งทางด้านร่างกายและมาตรฐานความชำนาญงาน ผู้สมัครจะถูกเลือกจากคนที่สามารถเข้าสู่หน่วย Metropolitan Division ได้หลังจากใช้เวลาอย่างน้อยสี่ปีในกรมตำรวจของลอสแอนเจลิส หลังใช้เวลาหนึ่งปีใน Metro เจ้าหน้าที่อาจสมัครเข้าหน่วย S.W.A.T. ซึ่งเป็นเวลาที่พวกเขาจะต้องยอมรับต่อกระบวนการทดลองงานนานสองอาทิตย์ที่ ต้องอาศัยความเอาใจใส่อย่างมาก ผู้ที่ผ่านการทดสอบจะถูกขึ้นชื่อในรายชื่อซึ่งผู้เข้าแข่งขันรายสุดท้ายๆจะ ถูกเลือก ในแต่ละปี มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 50 นายที่เข้าสมัคร แต่เพียงแค่ 8 ถึง 10 คนเท่านั้นที่จะสามารถเข้าทำงานในหน่วย S.W.A.T. ได้ เมื่อพวกเขาถูกคัดเลือกแล้ว เจ้าหน้าที่จะเริ่มเข้าสู่โปรแกรมการฝึกอันเข้มข้นซึ่งกินเวลานาน 7 สัปดาห์
สมาชิกของหน่วย S.W.A.T. ทุกคนจะ ถูกฝึกทุกๆอย่างๆ แต่มีหลายนายเช่นกันที่เลือกจะฝึกแบบชำนาญเฉพาะทาง เช่น พลจู่โจม พลซุ่มยิง เป็นต้น บางนายก็เลือกที่จะฝึกเป็นผู้เจรจา ปัจจุบันนี้มีเจ้าหน้าที่หน่วย S.W.A.T. จำนวน 18 นายที่ชำนาญในการเจรจาต่อรอง ภายหลังจากการฝึกเจ้าหน้าที่มักจะรอคอยงานชิ้นเปิดตัวก่อนที่จะได้เข้าร่วม ทีมอย่างเป็นทางการ แม้ว่าพวกเขาจะได้รับเชิญให้ไปช่วยในสถานการณ์ที่ต้องอาศัยยุทธวิธีในการ ปรามปรามอยู่หลายครั้งเวลาที่กำลังคนขาดแคลนก็ตาม การปฏิบัติงานในอาชีพของสมาชิกหน่วย S.W.A.T. นั้น ระยะ เวลาการทำงานที่นานที่สุดอยู่ที่ 27 ปี ระยะการทำงานโดยเฉลี่ยของหน่วยได้แก่ 8 ถึง 12 ปี หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ส่วนมากก็จะถูกเลื่อนขั้นไปยังหน่วยงานอื่นในกรมตำรวจนครลอสแอนเจลิส
ที่มา:http://chaoprayanews.com/blog/yotin/2013/05/14/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9-swat-special-weap/